Retirement Visa in Thailand

หลังจากไม่ได้กลับประเทศไทยมากว่า สามปี เพราะโควิด ปีนี้ได้กลับมาครั้งแรก ทริปนี้เราตั้งใจมาอยู่ถึง 2เดือนกว่า ๆ (รวม 62วัน)

แต่ พาสต์ปอร์ตไทยหมดอายุ เราและคุณสามีนั้นเลยเข้าประเทศแบบนักท่องเที่ยว ซึ่งชาวอเมริกันจะอยู่ในประเทศไทยได้  30วันเท่านั้น

มาถึง ตัวเราเองที่เป็นคนไทย (แต่พาสปอร์ตไทยหมดอายุ) ต้องไปขอต่อวีซ่า (ในเล่นพาสต์ปอร์ตอเมริกา) เป็น วีซ่าคืนถิ่นฯ มีค่าธรรมเนียม 1000บาท
ส่วนของคุณสามีนั้นสับสนมาก ว่าจะขอวีซ่าอะไร ให้ครอบคลุมจำนวนวันในทริปนี้ของเรา

เจ้าหน้าที่แนะนำมาสองตัว คือ วีซ่าคู่สมรส กับ วีซ่าเกษียณอายุ (ใช้ชีวิตบั้นปลาย)
ตอนแรกเราจะทำ วีซ่าคู่สมรส แต่ต้องพาเพื่อนบ้านมาเป็นพยาน หนึ่งท่าน…เราจะไปรบกวนเพื่อนบ้านมานั่งรอทำวีซ่าให้เราวันหนึ่งเหรอค่ะ? ขนาดเรามาทำกันเอง ยังไม่อยากมาเลยค่ะ

พอเจ้าหน้าที่เห็นเงินในบัญชี ก็แนะนำว่า ให้ทำแบบ เกษียณอายุ(Retirement) ซึ่งตอนนั้นเราก็ดีใจมาก นึกว่าทำแล้ว จะได้วีซ่าอายุ 1 ปี

ปรากฎว่า ก่อนจะไปเป็น 1 ปีนั้น ต้องขอเปลี่ยนประเภทฯก่อน (เปลี่ยนจากนักท่องเที่ยว ไปเป็นประเภทอื่น..)

ซึ่งเขาเรียกวีซ่า ตัวนี้แบบสั้นๆ ว่า Non-O ซึ่งวีซ่าตัวนี้ ต้องใช้เวลาในการอนุมัติ คือ ไม่ได้อนุมัติในวันที่ยื่นเลย

เคสเรา ยื่นเรื่องเร็ว ตั้งแต่ วันที่ 6 มกราคม เราได้วันฟังผลวันที่ 28 มกราคม

พวกเราก็รอจนถึงวันฟังผล…ซึ่งจะเป็นวันที่เราสามารถโทรฯเข้ามาเช็คว่า เราได้อนุมัติหรือยัง เราโทรฯเข้าหาเจ้าหน้าที่ทุกวัน ทั้ง เช้า และ บ่าย แต่เจ้าหน้าที่จะบอกว่า ให้โทรมาใหม่ๆๆ เพราะผลยังไม่ออก

จนเราขับรถไปหาเจ้าหน้าที่ และได้ทราบว่า หัวหน้าที่เซ็นต์อนุมัติลาพักร้อน ให้รออีกทีคือวันจันทร์ถัดไป นั่นหมายถึง ผลอนุมัติเรานั้นได้ 10วันหลังจากวันที่นัดฟังผล…

พอได้ผลอนุมัติ ก็คือ 90วัน โดยเราสามารถมาทำเป็น 1ปีได้

ความเข้าใจพวกเราคือ ถ้าเราได้ 1 ปีแล้ว เราสามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทย กี่ครั้งก็ได้ภายใน 1 ปี และสามารถอยู่ได้แต่ละครั้งเกิน 30วัน (คือดีกว่า มาแบบนักท่องเที่ยวทั่วไป)

ปรากฏว่า สิ่งที่เราเข้าใจนั้นผิดหมดเลย!!!

เจ้าหน้าที่บอกเราหลังจากจ่ายเงินเพื่อทำการต่อเป็น 1 ปีแล้วว่า วีซ่านี้เป็นวีซ่าเพื่ออาศัยอยู่ในประเทศแบบระยะยาว คือ 1 ปี และต้องมารายงานตัวทุก 90 วัน

วีซ่าเกษียณนี้ สามารถเดินทางออกนอกประเทศไทยได้ แต่ก่อนออก ต้องขออนุญาติเพิ่มเติม (Re-entry)เพื่อกลับเข้ามาในประเทศด้วยวีซ่าเกษียณ งงไหมค่ะ

สรุป วีซ่าเกษียณสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย คือวีซ่าสำหรับคนที่อยู่ในประเทศไทยแบบระยะยาวแบบ 1ปี มีค่าธรรมเนียม 1900บาท (ยังไม่รวมค่าถ่ายเอกสาร ค่ารูป ค่าเอกสารจากธนาคาร ฯลฯ) หากมีแผนว่าจะออกนอกประเทศช่วงที่ใช้วีซ่าเกษียณฯนี้ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม และต้องทำก่อนจะออกประเทศ (สามารถทำที่ ตม ขาออกที่สนามบินสุวรรณภูมิได้ แต่ไฟล์ทดึกๆ เจ้าหน้าที่เองก็ไม่แน่ใจว่าเขาเปิดให้บริการหรือเปล่า???) โดยมีค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1000บาท (ถ้าจะ re-entry ครั้งเดียว แต่หาก multi-entry ค่าธรรมเนียม 3800บาท)

 

สรุป เราไม่น่าทำวีซ่าเกษียณนี้เลย เราเข้าใจผิดว่า เราจะกลับมาไทยเมื่อไรก็ได้ และจะอยู่นานเท่าไรก็ได้ตามอายุวีซ่าเกษียณ แต่จริงๆ แล้ว เป็นวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติจะมาอยู่ไทยเป็นระยะยาว ไม่ได้เดินทาง

ทริปนี้แค่สำหรับคุณสามี เราเสียค่า วีซ่า Non-o แบบ 3เดือน 1900บาท ค่าวีซ่าเกษียณฯ แบบ 1 ปี 1900บาท และเพิ่มอีก 1000บาท สำหรับ re-entry permit….

คือ เสียค่าเรียนรู้เรื่องวีซ่าประเทศไทย เราเสียเงินไป 4800บาท เพื่ออยู่เพิ่มในประเทศอีก 32วัน (ทริปนี้เสียค่าวีซ่าเพิ่ม เฉลี่ยวันละ 100กว่าบาท)

แต่ค่าเสียเวลาที่ไปนั่งรอแต่แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า ครึ่งวันนี่สิค่ะ ประเมินค่าไม่ได้…

สงสารนักท่องเที่ยวหลายๆคน ที่ไปนั่งรอ และสับสนยิ่งกว่าเรา เพราะเราสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างคล่องแคล่วด้วยภาษาไทย (แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลวีซ่าทั้งหมด…)

เศร้าค่ะ สรุป เข้ามาประเทศไทยแบบครั้งละ 30วัน แบบนักท่องเที่ยว ดีที่สุด…

การใดใด ที่เกี่ยวกับขออยู่ต่อเพิ่ม พยายามอย่าไปยุ่งเกี่ยว ถ้าไม่ได้มีแผนจะอยู่ยาวที่ประเทศไทยค่ะ

*ในการติดต่อวีซ่าประเภทคู่สมรสฯ หรือ วีซ่าเกษียณอายุฯ ให้คู่สามีหรือภรรยาต่างชาตินั้น จะต้องยื่นตามถิ่นที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านของคู่สมรสคนไทย เพราะก่อนจะไปขั้นต่ออื่นๆ จะต้องยื่นขอแสดงที่อยู่อาศัยก่อน…

สรุปว่า ยากทุกขั้นตอน ไม่ได้โทษเจ้าหน้าที่นะคะ แต่ระบบมันยุ่งยากซับซ้อน เอกสารที่ยื่น หนาเป็นปึกๆ เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll Up